(Economic Growth)
(Social Inclusion)
(Environmental Protection)
รายงานของ KPMG เรื่อง Impact of ESG Disclosure อธิบายว่า ผู้ลงทุนชั้นนำระดับโลก เช่น BlackRock และ Vanguard นิยมใช้ข้อมูล ESG มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบริษัทในระยะยาว เช่น ข้อมูลการใช้พลังงานที่สะท้อนต้นทุน และความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานของธุรกิจ รวมทั้งมีการนำปัจจัยด้าน ESG มาเป็นส่วนหนึ่งในเงื่อนไขการออกผลิตภัณฑ์ เพื่อการลงทุน เช่น กองทุน และ ETFs โดยเชื่อว่าธุรกิจที่คำนึงถึงหลักการ ESG จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
(https://www.setsustainability.com/page/disclosure)
จึงมีการจัดทำรายงานความยั่งยืน โดยมีกรอบการรายงานระดับสากลมีหลากหลายมาตรฐาน เช่น GRI Standards, Integrated Report Framework, Recommendations of the Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) เป็นต้น โดยมี ESG Rating Agency เป็นผู้ประเมินดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท เช่น Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) , Sustainalytics, Morgan Stanley Capital International (MSCI), Carbon Disclosure Project (CDP)
มีการจัดทำรายชื่อ “หุ้นยั่งยืน” ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่คำนึงถึง ESG แม้ว่าส่วนใหญ่ยังประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนหลายรายมีการนำข้อมูลด้าน ESG มาจัดทำรายงานความยั่งยืน (sustainability report) เพื่อเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชน ควบคู่กับรายงานข้อมูลทางการเงิน เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนไทยในมิติการลงทุนที่ยั่งยืน